วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

นกกรงหัวจุกด่าง(นกด่าง)

                                     นกกรงหัวจุกด่าง(นกด่าง)


วงการนกหัวจุกถือเป็นวงการสัตว์เลี้ยงที่มีเอกลักษณ์และความนิยมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้นกหัวจุกตามธรรมชาติถูกจับไปเลี้ยงโดยไม่ถูกคำนึงถึงว่านกหัวจุก อาจจะสูญพันธุ์ไปหมดจากป่าของประเทศไทยได้ ในอนาคตลูกหลานของเราอาจจะพบนกหัวจุกอยู่ตามธรรมชาติได้อย่างยากเย็น วงการนกหัวจุกยังมีอีกหลายด้านที่หลายคนยังไม่ค้นพบว่าน่าทดลองและพัฒนา เนื่องจากนกหัวจุกเป็นนกที่เลียนเสียงได้ มีความเป็นนักสู้ และสามารถเพาะพันธุ์เป็นสัตว์เลี้ยงราคาแพงที่ครอบครัวไหนก็สามารถเพาะได้ โดยไม่ต้องอาศัยสายเลือดของนกเป็นสำคัญอย่างวงการนกเขาชวาเสียง  นกหัวจุกชั้นดี มีใจสู้ สีสันสวยงาม ราคาแพงลิ่ว อาจเกิดขึ้นในครอบครัวไหน กรงเพาะไหนก็ได้ แต่ต้องอาศัยหลักพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวบ้าง โชคดีแบบนี้ สมารถกำหนดขึ้นโดยหลักการง่ายๆ
นกหัวจุกถือเป็นนกที่มีคุณสมบัติที่พัฒนาได้ง่ายกว่าไก่ชนและนกเขาชวาเสียง โดยนกหัวจุกไม่ต้องคำนึงถึงเหล่าหรือสายเลือดมากเท่าไหร่นัก จะสร้างสายเลือดเองจากนกไหนก็ได้ที่มีโครงสร้างดี อดทน และนกเหล่านี้ไม่ได้มีราคาแพงจนเอื้อมไม่ถึง แค่หมั่นเสาะหาก็ได้นกดีมาเพาะพันธุ์ นกพ่อแม่พันธุ์อาจจะเป็นนกใต้ที่เดี๋ยวนี้หายากขึ้นทุกวัน  เมื่อได้ลูกมาแล้วก็นำมาเลียนเสียงเพลงจากนกครู  สร้างนกแข่งรุ่นใหม่ หรือหากอยากจะสร้างเอกลักษณ์และท้าทายมากกว่านั้น ต้องเป็นนกหัวจุกแฟนซี มีเสียงใหญ่ ไพเราะ โครงสร้างใหญ่ น่าเกรงขาม สั่งให้ร้องได้ และนั่น คงเป็นนกในอุดมคติ ที่ทุกคนสามารถเพาะขึ้นมาเองได้ โดยอาศัยภูมิปัญญาของไทยทำให้เกิดขึ้น
หลักพันธุกรรมที่นกเขาดอทคอมได้เขียนขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากการสังเกตจากพันธุกรรมนกหลายชนิด ซึ่งพันธุกรรมนกแฟนซีที่เกิดขึ้นมีบางส่วนที่คล้ายกันและอิงกฏของยีนเด่นและยีนด้อยเหมือนกัน ตามรายละเอียดที่จะกล่าวหลายคนอาจจะถกเถียงกันว่า นกหัวจุกถ้าเติบโตตามธรรมชาติจะแข็งแรงและใจสู้กว่านกเพาะ แนวคิดเช่นนี้มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่จากที่นกเขาดอทคอมได้ศึกษาพันธุกรรมมา ยีนที่ควบคุมความแข็งแรงและใจสู้ จะเพิ่มหรือสืบทอดได้เด่นชัดขึ้นเมื่อผสมข้ามสายหรือผสมกับนกที่ใจสู้ด้วยกัน และจะมีความแข็งแรงมากขึ้นหากพ่อแม่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี ให้อาหารอย่างดี มีโครงสร้างใหญ่ น่าเกรงขาม ซึ่งก็เหมือนกับการเพาะเลี้ยงไก่ชน ที่บรรพบุรุษของไก่ชนก็คือไก่ป่าที่มีตัวเล็ก ปราดเปรียว คนโบราณนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง พัฒนาต่อๆกันมาจนเป็นสายเลือดที่ห่างจากไก่ป่า เป็นไก่ชนที่มีความอดทน โครงสร้างเหมาะกับการต่อสู้
ถึงนี้ เป็นแค่สมมติฐานเท่านั้น ท่านอาจจะทดลองเพาะและหาข้อสรุปด้วยตัวท่านเองเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการต่อไป
นกด่างเกิดจากระบบของร่างกายนกตัวนั้นไม่ได้ผลิตเม็ดสีหรือมีการผลิตเม็ดสีบกพร่องในบางส่วนของร่างกาย จึงทำให้ขนบางส่วนมีเม็ดสีน้อยหรือขาดเม็ดสีและแสดงลักษณะของขนไล่ตั้งแต่ขนสีขาวหรือสีอ่อนจนถึงสีเข้ม นกหัวจุกที่เป็นนกด่างถือกำเนิดมาจากนกป่าโดยเป็นนกปรกติผสมพันธุ์กันและเกิดเป็นนกด่างโดยธรรมชาติโดยบังเอิญ เรียกว่าการกลายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจึงเห็นเป็นนกแปลกและสวยงามจึงได้นำมาขยายพันธุ์ นกหัวจุกด่างมีหลายประเภทนับตั้งแต่ นกด่างแค่ส่วนหัว หรือบางนกอาจจะด่างทั้งตัว แต่การเพาะนกจำพวกนี้ต้องดูลักษณะที่เหมือนกันมาเข้าคู่กัน เช่น ไม่ควรนำเอานกด่างแค่ส่วนหัว นำไปเพาะกับนกด่างที่มีขนด่างทั้งตัว เพราะคาดว่าการเข้าคู่แบบนี้ เป็นการเข้าคู่ที่พ่อแม่ด่างต่างกัน รุ่นลูกที่เกิดมา ภายนอกอาจจะเป็นนกสีปรกติโดยทั้งหมด แต่แฝงยีนด่างซึ่งกว่าจะเพาะเป็นนกด่างอีกครั้งต้องเสียเวลานำรุ่นลูกมาผสมกันอีก เพื่อหวังนกด่างในรุ่นหลานนั่นก็ทำให้เสียเวลาเปล่าส่วนนกด่างหัวอินทรีย์ คาดว่าไม่เป็นประเภทเดียวกับนกด่าง เพราะการเกิดขนสีขาวเป็นบริเวณต่างกันกับนกด่าง ควรนำนกด่างที่มีลักษณะเหมือนกันมาเข้าคู่กันเท่านั้น แต่นกด่างหัวอินทรีย์จะเป็นยีนเด่นหรือด้อยนั้น ยังไม่มีผู้ค้นพบ

ด่างที่เป็นยีนเด่น และด่างที่เป็นยีนด้อย
ความด่างในนกหัวจุกอาจจะต่างจากความด่างในนกเขาใหญ่และนกเขาชวา ในนกเขาส่วนมากจะเป็นยีนเด่น แต่นกหัวจุกเท่าที่ได้ยินมามักจะเพาะไม่ค่อยได้ลูกด่างกัน อาจจะเป็นเพราะว่ายีนด่างในนกหัวจุกเป็นยีนด้อย หรือการเข้าคู่นกหัวจุกนั้น นำเอานกด่างต่างประเภทมาเข้าคู่กัน จึงไม่ปรากฏลูกนกด่างออกมาเลย ทั้งนี้คุณๆสามารถลองเพาะนกหัวจุกด่างได้ เพื่อหาข้อสรุปว่าความด่างในนกหัวจุกเป็นยีนเด่นหรือด้อย โดยยีนทั้งสองชนิดมีการแสดงออกต่างกันดังนี้

นกด่างที่เป็นยีนเด่น จะแสดงลักษณะข่มต่อนกสีอื่นๆได้ เมื่อเพาะออกมาจะมีสัดส่วนลูกที่ต้องการตามตาราง
การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกด่างที่เป็นยีนเด่น + นกสีอื่นนกด่างที่เป็นยีนเด่น 50%นกสีอื่น 50%
นกด่างที่เป็นยีนเด่น + นกด่างที่เป็นยีนเด่นนกด่างที่เป็นยีนเด่นทุกตัว

นกด่างที่มียีนเป็นยีนด้อย เป็นนกด่างที่ไม่สามารถแสดงออกทางสีขนภายในรุ่นลูกเมื่อผสมกับนกสีปรกติ นกด่างประเภทนี้คือนกที่มีความด่างเป็นจุดน้อยๆ และรวมไปถึง นกด่างโอวัลติน ยีนประเภทนี้จะถูกข่ม จะไม่สามารถให้ลูกที่เป็นด่างได้เลยเมื่อผสมกับนกปรกติ แต่ลูกที่ได้นั้นจะมียีนแฝงเป็นด่างและจะให้รุ่นหลานเป็นด่างได้เมื่อนำมาผสมกันอีกครั้ง
การเข้าคู่นกด่างที่เป็นยีนด้อย
การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกด่างยีนด้อย + นกสีอื่นนกสีอื่นแฝงด้วยยีนด่าง 100%
นกสีอื่นแฝงยีนด่าง + นกสีอื่นแฝงยีนด่างนกสีอื่น 25%นกสีอื่นแฝงยีนด่าง 50%
นกด่างที่เป็นยีนด้อย 25%
นกด่างที่เป็นยีนด้อย + นกด่างที่เป็นยีนด้อยนกด่างที่เป็นยีนด้อย 100%
จะเห็นได้ว่า ยีนด่างอาจเป็นได้ทั้งเด่นและด้อย ขึ้นอยู่กับนกด่างชนิดนั้นจะมาจากพื้นที่ใด การนำนกมาเข้าคู่ต้องดูลักษณะด่างด้วยว่าด่างคล้ายกันหรือไม่ ถ้าเข้าคู่นกที่มีความด่างต่างกัน ลูกที่ได้อาจจะเป็นนกสีธรรมดา ไม่มีความด่างปรากฏขึ้นเลยก็ได้

กฎของsex-linked sex-linked ยีน เป็นยีนที่อยู่ในโครโมโซมเพศ หรือโครโมโซมที่แทนด้วยสัญลักษณ์ Z นกเขาตัวผู้จะมีโครโมโซมสองตัวจับอยู่เป็นคู่ ส่วนนกเขาตัวเมียมีโครโมโซมZตัวเดียว บวกกับสัญลักษณ์ W ที่ไม่มีโครโมโซมเพศอยู่  ตัวอย่าง เมื่อนำนกสีโอวัลตินตัวผู้ผสมกับนกตัวเมียสีปรกติ จะให้ลูกตัวผู้เป็นนกสีปรกติแต่มียีนสีโอวัลตินแฝงอยู่ ส่วนลูกตัวเมียที่ได้ จะเป็นนกสีโอวัลติน แต่ถ้านำนกสีโอวัลตินตัวเมียมาผสมกับนกสีปรกติตัวผู้ จะไม่สามารถให้ลูกที่เป็นนกสีโอวัลตินได้เลย เพราะนกตัวเมียจะมีโครโมโซมWเป็นตัวกำหนดอยู่ ลูกนกตัวเมียที่ได้จะเป็นนกปรกติแท้ และลูกนกตัวผู้ที่ได้จะเป็นนกสีปรกติที่มียีนสีโอวัลตินแฝงอยู่ ซึ่งจะให้รุ่นหลานเป็นนกสีโอวัลตินได้เมื่อผสมกันอีกทอดหนึ่ง
Sex-linked ยีนในนกจะช่วยบอกเพศของนกที่จะออกมา โดยอ้างอิงหลักตามกฏข้างต้น เช่น อยากให้ลูกที่เกิดมาเป็นตัวเมียสีโอวัลติน ควรจะใช้พ่อนกและแม่นกสีอะไร ผลที่ได้ก็จะเป็นดังตาราง
การเข้าคู่นกสีโอวัลติน
การเข้าคู่โอกาสที่จะได้
นกสีโอวัลติน + นกสีสีโอวัลตินนกสีโอวัลติน ทุกตัว
นกสีโอวัลตินตัวผู้ +นกสีปรกติตัวเมีย– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้ +นกสีโอวัลติน ตัวเมีย– นกสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้
– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
– นกสีปรกติตัวเมีย
นกสีปรกติตัวผู้ +นกสีโอวัลติน ตัวเมีย– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้– นกสีปรกติตัวเมีย
นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้ +นกสีปรกติตัวเมีย– นกสีปรกติตัวผู้– นกสีปรกติแฝงยีนสีโอวัลติน ตัวผู้
– นกสีโอวัลติน ตัวเมีย
– นกสีปรกติตัวเมีย

นกสีโอวัลตินจะมีระดับความเข้มของสีไล่ตั้งแต่อ่อนจนไปถึงแก่ บางนกก็เป็นสีโอวัลตินเข้ม บางนกก็เป็นสีโอวัลตินจางๆ ซึ่งความอ่อนแก่ของสีจะแสดงระดับความมากน้อยในการสร้างเม็ดสีของนก ซึ่งแสดงออกมาในขนนกที่มีลักษณะเป็นสีโอวัลตินเป็นกรณีคล้ายกันกับนกเขาสีหม้อใหม่
หมายเหตุ  : โอกาสที่จะได้กับผลเป็นเปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ลูกที่เกิดจากพ่อแม่นั้นๆ มีโอกาสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากน้อยเท่าไร เช่น นกครอกหนึ่งที่เกิดมามีสี่ตัว โอกาสเป็นนกสีแปลกเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ในลูกนกสี่ตัว มีโอกาสเป็นนกแฟนซีได้ 1 ตัว หรือ นกครอกหนึ่งมี2ตัว โอกาสได้นกสีแปลก 50 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งหนึ่งของลูกนกอาจเป็นนกสีแปลก และอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือหนึ่งตัว เป็นนกสีธรรมดา ส่วนนกครอกที่มีสามตัว กับเปอร์เซ็นต์นกสีแปลก 50เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนที่เกิดก็จะเกิดขึ้นสองในสาม หรือหนึ่งในสาม ก็เป็นได้ 
วงการนกหัวจุกและวงการนกเขาชวา ถือเป็นวงการสัตว์เลี้ยงที่เกิดขึ้นคู่กับสังคมไทยและจะพัฒนาต่อไปในแนวทางที่ดีขึ้น จากเป็นนกที่เคยอยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครอง เป็นนกที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง มีคุณสมบัติเหนือกว่านกป่า และเป็นที่นิยม ส่วนอนาคตจะเป็นไปในแนวทางใด ตัวของท่านเองเท่านั้น ที่เป็นผู้กำหนด  
ช่วยกันอนุรักษ์นกหัวจุกให้อยู่ตามธรรมชาติ โดยการไม่ซื้อนกป่า หันมาเพาะพันธุ์กันเอง
งานเขียนนี้ท่านสามารถนำไปใช้ส่วนตัว หรือไปเป็นเนื้อหาของเวบหรือสื่อใดก็ได้
อ้างอิงที่มาของเนื้อหาจาก https//teerasak123.wordpress.com/

" การผสมพันธุ์นกกรงหัวจุก "



" การผสมพันธุ์นกกรงหัวจุก "







ปกตินกกรงหัวจุกตามธรรมชาติ จะมีการผสมพันธุ์กันปีละ 6-8 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะออกไข่ 2-3 ฟอง มีลูกครั้งละ 2-3 ตัว ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีลูกประมาณ 12-24 ตัว ซึ่ง
การผสมพันธุ์
ปกตินกกรงหัวจุกตามธรรมชาติ  จะมีการผสมพันธุ์กันปีละ 6-8 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะออกไข่ 2-3 ฟอง มีลูกครั้งละ 2-3 ตัว ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีลูกประมาณ 12-24 ตัว ซึ่งการผสมพันธุ์นกกรงหัวจุกนี้มี 2 แบบ ด้วยกันคือ
การผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ
เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ในช่วงระยะระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม นกกรงหัวจุกจะร้องเรียกคู่ เมื่อนกกรงหัวจุกได้พบตัวเมีย ก็จะแสดงท่าทางโดยการโน้มตัวไปข้างหน้า ขณะอยู่บนกิ่งไม้ที่เกาะ ทำปีกห้อยลงข้างลำตัว รวมทั้งทำปีกขยับไปมาทั้ง 2 ข้าง ส่วนหางก็จะกระดกไปมา ส่วนหัวก็ส่าย และทำตัวหมุน ปากก็จะร้องเป็นเพลงเกี้ยวกัน เมื่อนกตัวผู้และตัวเมียถูกใจสกัน ก็จะบินออกไปจากฝูงไปอยู่คู่กัน โดยจะทำรังบนต้นไม้พุ่มออกทึบๆ การทำรังจะช่วยกันไปคาบกิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้าแห้งมาทำรัง แล้วผสมพันธุ์ ตัวเมียจะตกไข่ประมาณ 2-3 ฟอง ใช้เวลาในการฟักประมาณ 10-13 วัน ก็จะฟักออกเป็นลูกนก ในระหว่างที่ลูกนกออกมาพ่อแม่นกก็จะออกไปหาอาหารให้ลูกนกกิน เช่น หนอน ตั๊งแตน ผลไม้ เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็จะเริ่มหัดบิน เมื่อลูกนกบินได้แข็งแรง สามารถกินอาหารได้เอง พ่อแม่นกก็พาลูกนกไปรวมฝูงเดิม เพราะการหากินของนกกรงหัวจุกตามธรรมชาติจะออกหากินแบบเป็นฝูง
วิธีการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ก่อนจะมีการผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงและอายุที่เหมาะสม เพื่อจะได้ลูกที่ดี แม่พันธุ์ที่ดี ช่วงลำตัวต้องยาว หัวไม่เล็กเกินไป ดวงตาสดใส ไม่หม่นหมอง ฐานจุกต้องหนาพอควร สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรงปราดเปรียว ส่วนนกที่เป็นพ่อพันธุ์ นอกจากหัวใหญ่ หน้าใหญ่ จุกใหญ่แล้ว ฐานจุกต้องเต็ม ปลายโค้งต้องงอไปข้างหน้าเล็กน้อย ดวงตาต้องกลม สดใส ไม่หม่นหมอง ชวงลำตัวต้องยาวเช่นกัน ควรเป็นตัวที่มีสีสันธรรมชาติที่สุด หางสั้นซ้อนทับกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมต้องดี ไม่เกเรหรือมีนิสัยก้าวร้าว เช่น จิกหาง จิกปีก หรือจิกหน้าอกตัวเอง น้ำเสียงต้องดี เพราะมันหมายถึงการมีหลอดเสียงและปอดที่ใหญ่ อีกทั้งสุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง ปราวเปรียว ถ้าให้ดีควรเลือกตัวที่มีเลือดนักสู้เต็มร้อย ยิ่งถ้าเป็นนกที่เคยชนะการแข่งขันมาแล้วยิ่งดีมาก
การผสมพันธุ์โดยผู้เลี้ยงจัดเตรียมสถานที่
การผสมพันธุ์นกกรงหัวจุกแบบนี้ ผู้เลี้ยงต้องไปจัดหาสถานที่ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งผู้เลี้ยงต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้นกกรงหัวจุกผสมพันธุ์ ดังนี้ 1. หากต้นไม้ชนิดเป็นพุ่มทึบ ขนาดไม่สูงมากนัก โดยมีความสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 เมตร มีใบหนาแน่นเพื่อไม่ให้ศัตรูมองเห็น หรือจะปลูกต้นไม้ พวกต้นไทรที่มีขนาดไม่สูงนัก ต้นทรงบาดาล ต้นแก้ว ต้นพิกุล ต้นหางนกยูงไทย ต้นเฟื้องฟ้า ไว้ที่สวนหลังบ้าน หรือต้นไม้อื่นๆ ที่เป็นธรรมชาติ แต่ต้องเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดกลาง ต้นไม่สูง 2. ทำกรงครอบต้นไม้ โดยใช้ไม้ไผ่ ไม้จริง หรือเหล็ก ทำเป็นเสา 4 เสา และคาน กรงที่จะให้นกผสมพันธุ์มีความกว้างประมาณ 1.5 เมตร สูงประมาณไม่เกิน 3 เมตร ยกไปตั้งครอบต้นไม้ที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ใช้ตาข่ายที่มีสีฟ้าตาเล็ก หรือใช้ตาข่ายแบบเป็นลวดตาข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่ให้พ่อแม่และลูกนกลอดออกมาได้ คลุมกรงนกไว้ทั้ง 5 ด้าน เป็นด้านข้าง 4 ด้าน ด้านบนกรง 1 ด้าน และทำประตูสำหรับให้ผู้เลี้ยงเข้าออกด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเข้าไปให้น้ำและอาหารแก่นก 3. การทำรังนก ให้ใช้เปลือกมะพร้าวที่แกะกะลาออกแล้ว ไปผูกไว้ตามกิ่งหลายๆ จุด นำเศษหญ้าแห้ง ฟางข้าวแห้ง ไปวางไว้ที่พื้นกรง เมื่อแม่นกชอบรังไหน แม่นกและพ่อนกก็จะช่วยกันคาบหญ้าแห้ง ฟางข้าว ไปใส่ในเปลือกมะพร้าวที่ทำเป็นรังไว้ให้ เพื่อวางไข่และฟักไข่ต่อไป 4. หลังคากรงนก กรงนกสำหรับให้นกผสมพันธุ์ ควรจะใช้ตับจาก หญ้าคา หญ้าแฝก เป็นหลังคาจะเป็นธรรมชาติ โดยจะปิดหลังคาไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึงหนึ่งเปิดไว้ให้แสดงแดดเข้าได้ เพราะนกกรงหัวจุกต้องการาแสงแดด เมื่อได้แสงแดด ก็จะทำให้นกมีกระดูกแข็งแรง เพราะแสงแดดช่วยเสริมสร้างวิตามินดี 5. ที่แขวนอาหาร ใช้ลวดแข็งทำเป็นตะขอเกี่ยวไว้ข้างกรง แล้วนำมะละกอ กล้วย ลูกตำลึงสุก ส้มเขียวหวาน แตงกวา บวบ ไปเกี่ยวตะขอให้นกกิน และหากกล่องพลาสติกใส่อาหารเม็ด นำไปแขวนไว้ข้างกรงให้นกกินเช่นเดียวกัน 6. หากแก้วหรือที่ใส่น้ำไปวางให้นกกิน 7. หาขันพลาสติก หรืออ่างกระเบื้องดินเผา ใส่น้ำให้นกอาบในเวลาที่นกต้องการอาบน้ำ โดยตั้งไว้ตรงที่มีแดดส่องถึงพื้นล่างกรง 8. การผสมพันธุ์ จากการสอบถามคุณประนอม สังข์นุ่น ผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุก ได้กล่าวว่า การที่จะทำให้นกมีการผสมพันธุ์ โดยใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ 2 วิธี ดังนี้ 8.1 นำแม่นกกรงหัวจุกที่มีลักษณะดีใส่ไว้ในกรงผสมพันธุ์ประมาณ 2-3 วัน เพื่อแม่นกจะได้เตรียมตัวทำความคุ้นเคยกับกรงนก จากนั้นก็ให้นำตัวผู้ที่มีลักษณะดีใส่กรงนก ไปแขวนไว้ข้างกรงนกผสมพันธุ์ที่ด้านนอกกรง ด้านละ 1 ตัว รวม 4 ตัว เพื่อให้ตัวเมียได้เลือกคู่เอง ปล่อยตัวผู้ไว้ที่ข้างกรงประมาณ 2-3 วัน ให้ผู้เลี้ยงสังเกตดูตัวเมียว่าชอบตัวผู้ตัวไหน กล่าวคือ ถ้าตัวเมียไปเกาะข้างกรงที่มีตัวผู้ไม่ค่อยไปไหน แสดงว่าตัวเมียสนใจและเลือกตัวผู้ตัวนั้น จากนั้นก็ให้นำตัวผู้ที่ตัวเมียชอบเพียง 1 ตัว ใส่เข้าไปในกรงผสมพันธุ์ ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติต่อไป 8.2 นำนกตัวพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดีใส่ไว้ในกรงผสมพันธุ์ 1 ตัว จากนั้นก็นำตัวแม่ที่มีลักษณะดีเช่นกันใส่ในกรง 3-4 ตัว ให้ผู้เลี้ยงสังเกตดูว่าตัวเมียตัวไหนชอบตัวผู้ ก็ให้นำตัวเมียตัวอื่นออกจากกรงเหลือเพียง 1 ตัว ให้ตัวเมียและตัวผู้ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติต่อไป ข้อควรระวัง นกตัวเมียอาจจะจิกตีกัน ควรเป็นตัวเมียที่เลี้ยงหรือเคยอยู่ด้วยกันมาก่อน เพราะถ้าเอาตัวเมียจากที่อื่นมาใส่ในกรงตัวผู้จะต้องจิกตีกันอย่างแน่นอน
การฟักไข่
รังของนกกรงหัวจุกควรเป็นรังไม่ใหญ่นัก อาจจะใช้เปลือกมะพร้าวหรือรังสำเร็จรูปสำหรับให้แม่ไก่ฟักก็ได้ ซึ่งมีลักษณะขาตั้งเป็นลำไม้ไผ่ ตรงปลายผ่าเป็นซี่ๆ และเอาตอกมาสานสลับไปมา ซึ่งที่ฟักไข่แบบนี้ทางร้านขายอุปกรณ์สัตว์มีขาย เป็นทีนิยมทางภาคใต้ เมื่อผสมพันธุ์แล้ว นกจะไข่ออกมาครั้งละ 2-3 ฟอง ลักษณะไข่ของนกกรงหัวจุกมีเปลือกไข่ลายเหมือนไข่นกกระทา เป็นจุดสีดำและสีน้ำตาลสลับกันไป ความยาวของไข่ประมาณ 1 นิ้ว ความกว้างของไข่ประมาณ 0.5 นิ้ว หัวท้ายของไข่จะมน แม่นกกรงหัวจุกเมื่อออกไข่แล้ว ก็ใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 12-13 วัน ไข่ก็จะฟักออกมาเป็นลูกนก ตามธรรมชาติพ่อแม่นกต้องหาอาหารให้ลูกนกกิน ดังนั้น ผู้เลี้ยงต้องเตรียมอาหารให้ลูกนก ได้แก่ หนอนนก ตั๊กแตน หนอนมดแดง เพื่อให้พ่อแม่นก ควบไปป้อนให้ลูกนกกินให้เพียงพอ ลูกนกเมื่อมีอายุประมาณ 20 วัน ขนก็จะเริ่มเปลี่ยนและขึ้นเต็มตัว พ่อแม่นกจะสอนให้ลูกนกหัดบิน หัดกินอาหาร ผู้เลี้ยงก็จะแยกลูกนกออกมาเลี้ยง ส่วนพ่อแม่นกก็จะแยกกรงเลี้ยงต่อไป และเมื่อลูกนกมีอายุได้ 30-60 วัน ขนใต้ตายังไม่เปลี่ยนสี และร้องยังไม่เป็นก็สามารถนำไปเลี้ยงต่อไป
ข้อควรระวังในระหว่างที่นกฟักไข่
1. นกกรงหัวจุกชอบความเงียบสงบ ไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวน 2. อย่าทำให้นกตกใจ เช่น คน สุนัข แมว ไก่ เหยี่ยว เข้าไปทำให้นกตกใจ เพราะนกอาจจะไม่ฟักหรือเขี่ยไข่ทิ้ง หรือลูกนกตกใจตกจากรังตาย
วิธีอนุบาลลูกนก
หลังจากผสมพันธุ์ แม่นกจะวางไข่ โดยจะวางครั้งละ 2-3 ฟอง ทั้งพ่อแม่และแม่พันธุ์จะช่วยกันกกไข่ โดยกกประมาณ 15 วัน ไข่จะฟักออกเป็นตัว จากนั้นประมาณ 15-20 วัน ลูกนกจะเริ่มหัดบิน โดยมีพ่อแม่คอยดูแล จนกว่าจะสามารถใช้ชีวิตในธรรมชาติได้โดยลำพัง
ช่วงเลี้ยงลูกอ่อน
ถ้าดูแลดี อัตราการตายของลูกนกจะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกนกอายุ 15-20 วัน ควรแยกลูกนกออกจากกรงผสมไปเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้พ่อแม่นกมีเวลาพักผ่อน พักฟื้นร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะผสมพันธุ์ครั้งต่อไป ลูกนกที่แยกออกไปเลี้ยง ในระยะแรกอาจให้ลูกครอกเดียวกันอยู่รวมกันไปก่อน การให้อาหาร ควรใช้ไม้แบบช้อนตักไอศกรีมบี้อาหารให้ละเอียด แล้วตักป้อนให้ลูกนกกินจนอิ่ม ซึ่งเวลาอิ่มลูกนกจะนิ่งเงียบไม่ร้องกวนใจ อาหารที่ให้ในช่วงนี้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่ โดยนำมาผสมกับน้ำป้อนให้ลูกนกกิน นอกจากนี้ ควรให้กล้วยน้ำว้ากับมะละกอสลับกัน เพื่อให้ลูกนกคุ้นเคยกับอาหารธรรมชาติ หลังจากป้อนลูกนกด้วยไม้ประมาณ 5-10 วัน ผู้เลี้ยงควรหัดให้ลูกนกกินอาหารเอง โดยเอาอาหารใส่ไว้ในภาชนะ แล้วลูกนกจะค่อยๆมากินเอง เมื่อลูกนกอายุได้ 50 วัน ควรแยกลูกนกไปเลี้ยงเดี่ยว ควรแขวนกรงไว้ใกล้ๆกัน ลูกนกจะได้ไม่รู้สึกขาดความอบอุ่น และไม่ตื่นตกใจกลัวจนเกินไป แม้ลูกนกจะกินอาหารเองเป็นแล้ว ก็ควรป้อนหนอนนกแก่ลูกนกเป็นประจำ เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างนกกับคนเลี้ยง หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกนกอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากขนหน้าอกและบริเวณใบหน้าจะมีลายสีเทาจางๆ ขึ้นทั่วไป แต่หมึกยังเป็นสีเทาอ่อน แก้มยังไม่แดง ตลอดจนบัวใต้หางก็ยังมีสีเทาจางๆอยู่ เมื่ออายุได้ 90-120 วัน ลูกนกจะเริ่มเป็นวัยรุ่น มีการผลัดขนออกทั้งตัวเป็นครั้งแรก พอขนชุดนี้ขึ้นมาสีขนจะเปลี่ยนไป ขนหน้าอกและท้องจะขาวขึ้น สีขนทั่วไปจะเข้มขึ้นอย่างเห็นชัดเจน ขณะเดียวกันขนหูจะเป็นสีแดง บัวใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือแม้กระทั่งหมึกก็เป็นแถบสีดำ กลายเป็นนกวัยรุ่นเต็มตัว
 การเลี้ยงนกวัยรุ่น
นกวัยรุ่นควรแขวนเลี้ยงไว้ตามชายคาบ้านหรือกิ่บไม้ที่แข็งแรง นกระยะนี้ เมื่อยามเช้าตรู่อากาศสดชื่น นกจะสดชื่นร่าเริง และจะเริ่มส่งเสียงร้องตลอดเวลา พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางอย่างงดงาม ช่วงนี้ให้เลี้ยงด้วยมะละกอสุก 1 ชิ้นพออิ่ม หรือกล้วยสุกครึ่งลูก แตงกวา 1 ซีฝาน เวลาผู้เลี้ยงไม่อยู่บ้านควรเก็บนกไว้ในบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากศัตรูต่างๆ รวมทั้งขโมย ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง หากผู้เลี้ยงมีเวลาพอให้เตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้แขวนกรงนก เพื่อให้นกได้ตากแดด เสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กันนกอีกทางหนึ่ง
การตากแดด
นกใหม่หรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่พร้อมจะแข่งขัน จะไม่คึกคักหรือตื่นตัวเท่าที่ควร ฉะนั้นควรให้ตากแดดปกติธรรมดา โดยไม่ต้องหักโหมให้ตากแดดมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติ เมื่อนกเจอแดดร้อนจะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน สำหรับนกวัยรุ่นจะนำออกตากแดดตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงเก้าโมงเช้าก็เพียงพอ จากนั้นก็นำเข้าร่ม แยกนกให้ห่างกัน เพื่อกันไม่ให้นกตื่นกลัวกันเองจนนกไม่ร้อง
การตากแดดนกที่พร้อมจะแข่งขัน
นกกลุ่มนี้จะถูกนำออกตากแดดนาน เพื่อสร้างความแข็งแรงและอดทนต่อแสงแดดเวลานำออกแข่งขัน ส่วนใหญ่จะนำออกตากแดดจากเก้าโมงเช้าจนถึงบ่ายโมง โดยจะตากแดดตลอดไม่มีการยกเข้าไปพักในร่ม เพื่อให้นกกระโดดและร้องไปเรื่อยๆ การแขวนจะต้องแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้อยู่ชิดติดกันเหมือนตอนแข่งหรือซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวัน จนเกิดอาการชินชา เวลาแข่งจริงอาจไม่มีเสียงร้อง เมื่อตากแดดพอแล้ว ก็นำเข้าร่มในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกโปร่งโล่ง เพื่อให้นกได้พักผ่อน ผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงประมาณสี่โมงเย็น จึงนำออกไปแขวนข้างนอก เพื่อความสะอาดกรง และภาชนะบรรจุอาการให้สะอาด และควรล้างซี่กรงด้านล่างหรือท้องกรงด้วยการฉีดน้ำให้ทั่ว แล้วใช้แปรงสีฟันหรือฟองน้ำขัดทำความสะอาด พร้อมกับล้างถาดรองขี้นกจนสะอาด จากนั้นก็หงายขันน้ำเติมน้ำให้เต็ม แล้วนำกรงแขวนในร่มเพื่อให้นกลงอาบน้ำ ถ้าตัวไหนไม่ยอมอาบน้ำให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอยๆ ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้นกลงอาบน้ำเอง หลังจากอาบน้ำเสร็จ นกจะแต่งตัวด้วยการใช้ปากไซร้ขนทั่วตัว เพื่อทำความสะอาดและเช็ดขนให้แห้ง จากนั้นก็คว่ำขันน้ำ แล้วยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อทำให้ขนนกแห้ง สร้างความสวยงามให้กับนก เพราะขนจะฟูสวยงาม ไม่ขันในขณะทำการแข่งขัน ทำให้กรงนกแห้งเป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก หากกรงไม่แห้งไม้จะพอง จุดเชื่อมข้อต่อจะหลวมและหลุดออก อาจทำให้ซี่กรงขึ้นราได้

ที่มา  http://blog4pets.blogspot.com/
ที่มา  http://www.noksiam.com/modules.php?name=activeshow_mod&file=article&asid=6